วันพฤหัสบดีที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2555

กลองเส็ง

กลองเส็ง

บ้านละหาน  ตำบลละหาน  อำเภอจัตุรัส  จังหวัดชัยภูมิ


ประวัติความเป็นมาและความสำคัญของกลองเส็ง

           กลองเส็ง  มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า  กลองกิ่ง  ในสมัยโบราณกลองเส็งใช้เป็นสัญญาณส่งข่าวบอกเหตุนอกจากนี้กลองเส็งยังเป็นเครื่องดนตรีสำคัญที่ใช้ตีในพิธีกรรม  ตีในกิจกรรมบันเทิงประกอบการฟ้อนรำ  ในอดีตแทบทุกหมู่บ้านของจังหวัดชัยภูมิมีกลองเส็งแทบทุกหมู่บ้านโดยนิยมนำไปเก็บรักษาไว้ที่วัดเพราะเชื่อถือกันว่าวัดเป็นศูนย์กลางของบ้านเวลามีงานเทศกาลทุกคนก็จะมารวมกันอยู่ที่วัด  ในปัจจุบันมีข้อมูลพบว่ากลองเส็งมีอยู่  4  อำเภอคือ  เมืองชัยภูมิมีที่บ้านขี้เหล็กใหญ่  บ้านหนองบัวขาว  บ้านหัวหนอง  อำเภอจัตุรัสมีที่บ้านละหาน  บ้านห้วยยาง  บ้านหนองสมบูรณ์  บ้านมะเกลือ  บ้านหนองม่วง  บ้านตลาด  บ้านหนองบัวใหญ่  บ้านหนองบัวบาน  บ้านส้มป่อย  บ้านโนนม่วงและบ้านโนนเชือก  อำเภอบ้านเขว้ามีที่บ้านเขว้า  วัดเจริญผล  วัดมัชฌิมาวาส  วัดปทุมาวาสและอำเภอหนองบัวระเหวมีที่วัดละหานค่าย

ความเชื่อเกี่ยวกับกลอง

          ชาวบ้านมีความเชื่อว่ากลองเส็งเป็นสัญญาณแห่งความสามัคคีผู้ทำจึงมีวิธีการที่ละเอียดอ่อน  ประณีตบรรจงผู้ทำใส่ ความรู้สึกใส่จิตวิญญาณเข้าไปในตัวกลองในทุกขั้นตอนเริ่มตั้งแต่เข้าป่าเพื่อเลือกไม้ต้องเลือกวัน  เดือนที่เจ้าป่าเจ้าเขาเพื่อขออนุญาตตัดไม้ซึ่งวันที่เจ้าป่าเจ้าเขาไม่อยู่ก็คือวันพระเมื่อเลือกต้นไม้ที่จะตัดแล้วก็ต้องขอให้นางไม้ช่วยให้เสียงกลอง
ดังเมื่อทำเสร็จแล้วจึงต้องบูชาเทวดา  เจ้าป่าเจ้าเขา  นางไม้และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายที่อยู่  ณ  ป่าแห่งนี้ด้วยการจัดทำขันธ์  5  ประกอบด้ายดอกไม้ขาว  5  คู่  เทียน  5  คู่  วางใส่ถาดอย่างเหมาะสมให้เทวดานางไม้ไดรับรู้ว่าตัดไม้ไปทำกลองเส็งขออย่าให้มีอุปสรรคใดๆเมื่อทำเช่นนี้เชื่อกันว่ากลองจะตีเสียงดัง  ทำง่าย  ไม่มีอุปสรรค  ตลอดทั้งสร้างความสมัครสมานสามัคคีของคนทุกคนที่ได้ยินเสียงกลองและถ้ามีการจัดแข่งขันก็จะได้รับชัยชนะดังที่เป็นภาษาชาวบ้านว่า  โอ้น้องนางไม้เอ๋ยผู้ข้าจะขอไม้งามๆไปเฮ็ดกลองเส็งแล้วผู้ข้าสิพาไปประชันขันแข่งขออย่าให้ตื่น  ได้ท่วงมั่นๆ  เหนียวๆ  สิบบ้านซาห้าบ้านลือ   พุ่นเด้อ  สาธุ

ลักษณะของกลองเส็ง

            กลองเส็งเป็นกลองสองหน้า  ตัวกลองทำด้วยไม้ประดู่หุ้มด้วยหนัง  ดึงให้ตึงด้วยเชือกหนังแต่ในปัจจุบันใช้เชือกไนล่อนแทน  กลองเส็งมีขนาดต่างกันความยาวประมาณ  85  เซนติเมตร  ความกว้างของหน้ากลองประมาณ   50  เซนติเมตร  ส่วนความกว้างด้นล่างประมาณ   20  เซนติเมตร  กลองเส็งที่ชาวบ้านนิยมทำกันจะมีขนาดหน้ากลอง  3  ขนาดคือขนาด  18  นิ้ว  ขนาด  20  นิ้วและขนาด  22  นิ้วขึ้นอยู่กับการใช้งานชุดหนึ่งจะมีกลอง  2  ลูกตีด้วยแส้ที่ทำจากไม้เค็งยาวประมาณ  85  เซนติเมตรเสียงดังมากการปรับเสียงจะปรับให้ดังกังวานมากที่สุด

ส่วนประกอบของกลองเส็ง


             ในการทำกลองเส็งช่างทำกลองเส็งจะต้องเป็นบุคคลที่มีความรู้ในกระบวนการต่างๆเป็นอย่างดีได้แก่  รูปแบบของกลอง  เทคนิคในการทำกลองตลอดจนความเชื่อเรื่องโชคลางต่างๆที่มีส่วนสัมพันธ์กับกลองเส็งดังนั้นจึงต้องอาศัยข้อมูลต่างๆที่มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อเตรียมที่จะทำกลองให้สมบูรณ์

  1.ตัวกลอง   

ภาพตัวกลอง  ที่เจาะเสร็จเรียบร้อยแล้ว
พร้อมที่จะขึ้นหนังหน้ากลอง
             มีรูปร่างไม่เหมือนกลองชนิดอื่นคือ  ปากกว้างก้นแคบทำจากไม้ประดู่หรือไม้พยุง  การเลือกไม้ให้เลือกต้นที่มีขนาดพอเหมาะคือ  มีขนาดวัดโดยรอบ  1  คนโอบหรือประมาณ  100-150  เซนติเมตรต้นไม้จะต้องไม่เป็นโพรงหรือมีแมลงเจาะจนเป็นรู  จากนั้นชาวบ้านก็จะใช้เลื่อยใหญ่ตัดต้นไม้และเลือกตัดไม้เป็นท่อนยาวประมาณ  90  เซนติเมตร

  2.หนังกลอง  เป็นวัสดุที่สำคัญใช้ทำหน้ากลอง  ใช้หนังควายอาจเป็นหนังควายสีดำหรือหนังควายสีเผือกก็ได้  ลักษณะที่ดีคือมีขนยาวรูขุมขนมีระยะห่างกันพอสมควร  ใช้หนังควายตัวเมียที่เคยตกลูกมาแล้ว  3-4  ตัว หากเป็นตัวผู้ควรมีอายุระหว่าง  3-5  ปี  สังเกตจากความยาวของใบหู  2  ข้างถ้ายาวเท่ากันก็ใช้หนังทำหน้ากลอง
  3.หนังร้อย  หนังชักหรือหนังริวใช้หนังควายส่วนใดก็ได้ต้องใช้มีดปลายแหลมกรีดออกเป็นเส้นๆกว้างประมาณ  2-3  เซนติเมตร  ยาวไม่กำหนดการต่อหนังต้องต่อกันตอนที่หนังยังไม่แห้งบิดพันกันแล้วนำไปตากแดด  3-5  วัน  ใช้สำหรับร้อยหูกลองเพื่อโยงหนังหน้ากลองแล้วดึงมาร้อยกับเหล็กส่วนล่างให้ตึงแต่ปัจจุบันเนื่องจากหนังหายากจึงใช้เชืกไนล่อนเบอร์  12 

ขั้นตอนการทำกลองเส็ง  
ภาพการตึงหนังกลอง

แบ่งออกเป็น  2  ส่วน  คือ

  1.วิธีทำตัวกลอง

  2.วิธีขึ้นหนังหน้ากลอง

             เมื่อได้หนังที่ผ่านการตำจนนิ่มแล้วนำหนังหน้ากลองวางคว่ำที่ปากกลองใช้ไม้ขาไซสอดเข้าที่รูหูบักโก  รูหูบักโก  คือรูที่เจาะบนแผ่นหนังซึ่งเป็นรูที่เจาะรอบๆแผ่นหนังกลองใช้ไม้ขาไซสอดที่รูหูบักโกจนครบทุกรู  ใช้เชือกซึ่งเมื่อก่อนจะใช้หนังควายตากแดดให้แห้งบิดเป็นเกลียวแต่ปัจจุบันใช้เชือกไนล่อนร้อยสอดไปตามไม้ขาไซเพื่อคล้องที่หูกลองไปยังเหล็กหน้าน้อยขึ้นลงในลักษณะฟันปลาแล้วดึงให้ตึง  จากนั้นถอดไม้ขาไซออกเพื่อรอขึงด้วยไม้กา


  วิธีการขึงหน้ากลองด้วยไม้กา


ไม้ขี้พร้า หรือลิ่ม
              ใช้ด้นที่เป็นปากกาสอดไปทางหน้ากลองนำเชือกมาพาดไว้แล้วใช้แรงงานคนจำนวน  2-3  คน  ช่วยกันออกแรงหมุนบิดเส้นเชือกให้ตึงตลอดตัวกลอง  การขันเชือกหน้ากลองด้ยกาจะขันไปเรื่อยๆจนกว่าหนังหน้ากลองจะตึง  หากหน้ากลองยังไม่ตึงจะใช้ไม้มือลิงซึ่งเป็นอุปกรณ์ช่วยงัดเส้นเชือกเพื่อใช้ลิ่มสอดระหว่างเส้นเชือกแล้วบิดหมุน  คล้ายกับวธีการขันชะเนาะ  เพื่อให้หนังหน้ากลองตึง






  การทดสอบกลอง

ขั้นตอนการขึ้นหลัง
               เมื่อขึงหน้ากลองได้ตึงจนเป็นที่น่าพอใจแล้ว  ก็นำหน้ากลองออกมาจากไม้กาเพื่อขัดหน้ากลองจนเนียนด้วกระดาษทรายและทดสอบตีเพื่อแต่งเสียงกลอง  หากเสียงกลองยังไม่ดังกังวานป็นที่น่าพอใจก็จะนำไปขึงหน้ากลองใหม่ด้วยการใช้ไม้กาและนำมาทดสอบด้วยการตีจนกว่าเสียงจะดังกังวานเป็นที่น่าพอใจ  แต่จะต้องระวังหนังหน้ากลองฉีกขาดใช้ไม้เสี่ยมและไม้มือลิงเป็นอุปกรณ์ช่วยงัดเส้นหนังร้อยเพื่อหมุนไม้ขี้พร้าบิดหนังร้อยเพื่อทำให้หนังหน้ากลองตึงอีกครั้งหนึ่ง


เครื่องมือที่ใช้ในการขึ้นหนังหน้ากลอง

                1.ใช้ไม้ขาไซ  เป็นวัสดุที่ทำจากไม้ไผ่ผ่าเป็นซี่ๆ  มีความยาวเท่ากับขนาดกลองกว้าง  1-1.5  เซนติเมตรเหลาปลายด้นหนึ่งให้แหลม  ใช้สำหรับแผ่นหนังหน้ากลองในการขึ้นหนัง  หน้ากลองก่อนที่ใช้หนังร้อยดึงหนังหน้ากลอง

ขัดกระดาษทราย
                2ไม้ขี้พร้า  หรือลิ่มทำมาจากไม้ไผ่ผ่าเป็นซีกความยาวประมาณ  10  เซนติเมตร  ปลายด้านหนึ่งจะตัดให้เหลือตรงกับข้อไม้ไผ่พอดี  มีความแข็งเป็นพิเศษเหลาให้มีลักษณะแบนเล็กน้อย  และเรียวไปอีกด้านหนึ่งใช้ขันชะเนาะหนังร้อยเพื่อดึงหน้ากลองทั้งสองด้าน

                3.ไม้เสี่ยม   ทำจากไม้ประดู่หรือไม้เนื้อแข็งชนิดอื่นก็ได้ยาวประมาณ  50  เซนติเมตร  มีลักษณะคล้ายค้อน  ปลายด้นหนึ่งเรียวใช้สำหรับงัดหนังร้อยเพื่อดึงหน้ากลอง  ช่างกลองจะนิยมทำเป็นคู่ๆ




ทดสอบเสียงกลอง
                4.ไม้มือลิง  ทำจากไม้เนื้อแข็ง  1  คู่   ยาวประมาณ  50  เซนติเมตร  มีลักษณะปลายเรียวทำเป็นขอเกี่ยว  ด้านหนึ่งใช้เกี่ยวหนังก่อนที่จะใช้ไม้เสี่ยมสอดเข้าไปเพื่อช่วยในการดึงหนังหน้ากลองให้ตึง


                5.ไม้กางัด  ทำจากต้นไม้เนื้อแข็งยาวประมาณ  6-8  เมตร  ด้านโคนเจาะรูทะลุ  4  รู  รูปสี่เหลี่ยมกว้างประมาณ  6  เซนติเมตร  ยาง  8  เซนติเมตร  และใช้ไม้ไม้เนื้อแข็งยาว  8  เมตรสอดเข้าเป็นเครื่องหมายบวก  ปลายอีกด้นหนึ่งเป็นรูปตัวยู(U)สำหรับงัดและบิดให้ตึง



ใบสบู่ดำ

กระดาษทราย
ค้อนที่ใช้ในกระบวนการทำกลอง
ปรับแต่งหน้ากลอง
เชือกไนล่อน และกระดาษเขียนแบบหน้ากลอง
เหล็กหน้าน้อย
ใช้สำหรับรองหน้ากลองด้านเล็ก















อุปกรณ์ในการตีกลอง

ไม้ตีกลอง
                1.ไม้ตีกลอง  ทำจากไม้เนื้อแข็งซึ่งจะเหนียวเป็นพิเศษ  ไม่หักง่าย  เหลาได้ขนาดประมาณปลายนิ้วก้อยยาวประมาณ  1  ศอก  ที่ด้ามถือพันด้วยผ้าประมาณ  2-3  รอบ  เพื่อไม่ให้เจ็บมือ  เพื่อทำให้กระชับมือยิ่งขึ้นในขณะตี  ช่างจะทำไว้หลายคู่  มีทั้งแบบป็นไม้และเหล็ก  ส่วนหัวไม้ก็มักมีทั้งเป็นยางและตะกั่ว




                2.ขาหยั่ง  เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า  ขาตั้ง  หรือไม้ขาดุ่ง  ทำจากไม้เนื้อแข็งเส้นผ่านศูนย์กลาง  6  เซนติเมตร  ยาวประมาณ  2  เซนติเมตร

                 เนื่องจากกลองเส็งเป็นกลองที่จัดทำขึ้นมาเพื่อตีประโคมให้เกิดเสียงดังเป็นสำคัญ  ต่อมามีผู้คิดให้นำมาประชันความเด่นว่า  กลองคู่ใดมีเสียงดัง  การเส็งกลองนิยมตีกันเป็นคู่ๆ

                    การเส็งกลองมี  2  ลักษณะคือ  การตีตั้งและการตีนอนกลองที่จะนำมาตี  1  ชุดประกอบด้วยกลอง  2  ใบ  ผู้ตีกลอง  1  คนใช้ไม้ตี  2  อัน  การตีชุดหนึ่งๆใช้ผู้ตี   5  คน

                   การเส็งกลอง  คือ  การตีกลองแข่งขัน  วัดด้วยความแรงและความดังของเสียง  ภูมิปัญญาชาวบ้านดั้งเดิมใช้ภาชนะประเภทกระถางดินปากบานหรือกะละมังเผาใส่น้ำให้เต็มตั้งไว้ด้านหน้ากลองที่กำลังตีอยู่หากน้ำในภาชนะของฝ่ายใดกระเพื่อมออกมากกว่าถือว่าชนะ


การเก็บรักษากลองเส็ง

                 ในสังคมชนบทของชาวชัยภูมิสมัยก่อน  ชาวบ้านให้ความร่วมมือและพร้อมใจกันทำกลองเส็ง  เพื่อเป็นสมบัติส่วนรวมของหมู่บ้าน  ทุกบ้านจะมีกลองเส็งอย่างน้อยบ้านละ  1  คู่  ซึ่งชาวบ้านจะนำไปเก็บรักษาไว้ที่วัด  กลองเส็งจึงเป็นสิ่งมีค่าและเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมของหมู่บ้าน

โอกาสที่บรรเลง

หนังควาย
                   การเส็งกลอง  ในจังหวัดชัยภูมิใช้ตีในงานประเพณีต่างๆ  เช่น  งานบุญเดือนหก  งานบุญเข้าพรรษา  งานออกพรรษา  งานประจำปี  เช่น  งานฉลองอนุสาวรีย์พระยาภักดีชุมพล  ตลอดจนใช้ในพิธีเปิดงานต่างๆ  เช่น  งานบุญสงกรานต์   งานลอยกระทง  งานกีฬาสถาบัน  ในบางครั้งก็จัดให้มีการตีเพื่องานบันเทิง  แต่ในปัจจุบันเริ่มจัดให้มีแข่งขันเชื่อมความสามัคคีระหว่างหมู่บ้าน  และยังถือว่าเป็นกีฬาพื้นบ้านของจังหวัดชัยภูมิ  การแพ้ชนะไม่ถือเป็นเรื่องสำคัญ

การเทียบเสียง 

                    ไม่มีการเทียบระดับเสียง  แต่พยายามปรับให้มีเสียงดังกังวานมากที่สุดเท่าที่จะดังได้  ไม่มีระดับเสียงแน่นอนแล้วแต่ผู้ทำ

กลองเส็งกับการปรับเปลี่ยนทางสังคม

                    การสืบทอดในปัจจุบันนี้เกี่ยวกับเรื่องกลองเส็ง  หากดูทั่วๆไปนั้นเป็นเรื่องที่ยากพอสมควรเนื่องจากปัจจัยต่างๆนั้นไม่ได้อำนวยเหมือนสมัยก่อนอันได้แก่  กระบวนการผลิตกลองก็น้อยลงเรื่อยๆ  ส่วนมากจะปรากฏแต่กลองที่เคยทำและใช้มาหลายปีแล้วเกี่ยวกับช่างกลองก็ชรามากและเสียชีวิตไปแล้ว  คนรุ่นใหม่ไม่ค่อยสนใจที่จะสืบทอด  ทำให้กลองเส็งในจังหวัดชัยภูมิใกล้จะสูญหาย

การเดาะกลอง
การตีเพื่อแข่งขัน
                     การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมเกี่ยวกับกลองเส็งในสมัยปัจจุบันจึงเพิ่มเรื่องการแข่งขันกลองเส็ง  เป็นการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมได้เป็นอย่างดี  เห็นได้ว่าดนตรีที่มีในอีสานนั้นส่วนมากจะจัดให้อยู่ในเครื่องดนตรีทั้ง  4  จำพวก  พวกกลองเส็งมีความแตกต่างอันเนื่องมาจากมีลักษณะที่โดดเด่น  คือ  เป็นเครื่องดนตรีที่ใช้ในงานบุญประเพณีต่างๆเป็นเครื่องดนตรีประกอบการแสดงเชิงแข่งขัน  ค่านิยมจากวิถีชีวิตของสังคมชาวอีสานจากอดีตมาจนถึงปัจจุบัน   เห็นได้ว่ามีการปรับเปลี่ยนในสิ่งต่างๆ  เพื่อให้สอดคล้องกับค่านิยมแนวใหม่  เช่น  การดินทางของคณะกลองเส็ง  เมื่ออดีตใช้วิธีการให้คนหามกลองไปเป็นคู่ๆปัจจุบันใช้รถยนต์เป็นพาหนะเดินทาง  ซึ่งอำนวยความสะดวกมากยิ่งขึ้น


การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม

                   ด้านการแต่งกาย  การเส็งกลอง  มีการแต่งกายโดยใส่เสื้อม่อฮ้อม  หรือเสื้อผ้าไหม  นุ่งผ้าโสร่งและผ้าขาวม้าคาดเอวซึ่งเป็นชุดพื้นเมืองของชาวอีสาน

                   ด้านประเพณี  ให้ลูกหลานหรือคนรุ่นหลังมีโอกาสได้ศึกษาเพราะคนเฒ่าคนแก่เริ่มไม่มีแรงเส็งกลอง  จึงต้องให้ลูกหลานที่มีกำลังแรงดีมาเส็งกลองแทนถือเป็นการสืบทอดประเพณีการเส็งกลองบางท้องถิ่นยังมีการใช้กลองเป็นสัญญาณต่างๆ  เช่น  ตีตอนเรียกชาวบ้านประชุม  ตีย่ำค่ำเรียกว่ากลองแลงตีตอนกลางคืนรียกว่ากลองดึก เป็นต้น



5 ความคิดเห็น: