แห่พระศรีอาริย์ บ้านละหาน 2555 วันไหลบ้านละหาน อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ เทศกาลสงกรานต์ วันที่ 21 เมษายน ของทุกปี สงกราต์เก้าวัน วันที่เก้าแห่พระศรีอาริย์ คนทั้งหมู่บ้านเข้าร่วมงานนี้โดยพร้อมใจกัน ขบวนแห่เริ่มจากวัดตั้งแต่บ่ายโมง แห่รอบหมู่บ้าน กลับเข้าวัดช่วงหกโมงเย็น 21 เมษายน 2555
วันเสาร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2555
แห่พระศรีอาริย์ บ้านละหาน 2555
แห่พระศรีอาริย์ บ้านละหาน 2555 วันไหลบ้านละหาน อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ เทศกาลสงกรานต์ วันที่ 21 เมษายน ของทุกปี สงกราต์เก้าวัน วันที่เก้าแห่พระศรีอาริย์ คนทั้งหมู่บ้านเข้าร่วมงานนี้โดยพร้อมใจกัน ขบวนแห่เริ่มจากวัดตั้งแต่บ่ายโมง แห่รอบหมู่บ้าน กลับเข้าวัดช่วงหกโมงเย็น 21 เมษายน 2555
วันพฤหัสบดีที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2555
กลองเส็ง
กลองเส็ง
บ้านละหาน ตำบลละหาน อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ
ประวัติความเป็นมาและความสำคัญของกลองเส็ง
กลองเส็ง มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กลองกิ่ง ในสมัยโบราณกลองเส็งใช้เป็นสัญญาณส่งข่าวบอกเหตุนอกจากนี้กลองเส็งยังเป็นเครื่องดนตรีสำคัญที่ใช้ตีในพิธีกรรม ตีในกิจกรรมบันเทิงประกอบการฟ้อนรำ ในอดีตแทบทุกหมู่บ้านของจังหวัดชัยภูมิมีกลองเส็งแทบทุกหมู่บ้านโดยนิยมนำไปเก็บรักษาไว้ที่วัดเพราะเชื่อถือกันว่าวัดเป็นศูนย์กลางของบ้านเวลามีงานเทศกาลทุกคนก็จะมารวมกันอยู่ที่วัด ในปัจจุบันมีข้อมูลพบว่ากลองเส็งมีอยู่ 4 อำเภอคือ เมืองชัยภูมิมีที่บ้านขี้เหล็กใหญ่ บ้านหนองบัวขาว บ้านหัวหนอง อำเภอจัตุรัสมีที่บ้านละหาน บ้านห้วยยาง บ้านหนองสมบูรณ์ บ้านมะเกลือ บ้านหนองม่วง บ้านตลาด บ้านหนองบัวใหญ่ บ้านหนองบัวบาน บ้านส้มป่อย บ้านโนนม่วงและบ้านโนนเชือก อำเภอบ้านเขว้ามีที่บ้านเขว้า วัดเจริญผล วัดมัชฌิมาวาส วัดปทุมาวาสและอำเภอหนองบัวระเหวมีที่วัดละหานค่าย
ความเชื่อเกี่ยวกับกลอง
ชาวบ้านมีความเชื่อว่ากลองเส็งเป็นสัญญาณแห่งความสามัคคีผู้ทำจึงมีวิธีการที่ละเอียดอ่อน ประณีตบรรจงผู้ทำใส่ ความรู้สึกใส่จิตวิญญาณเข้าไปในตัวกลองในทุกขั้นตอนเริ่มตั้งแต่เข้าป่าเพื่อเลือกไม้ต้องเลือกวัน เดือนที่เจ้าป่าเจ้าเขาเพื่อขออนุญาตตัดไม้ซึ่งวันที่เจ้าป่าเจ้าเขาไม่อยู่ก็คือวันพระเมื่อเลือกต้นไม้ที่จะตัดแล้วก็ต้องขอให้นางไม้ช่วยให้เสียงกลอง
ดังเมื่อทำเสร็จแล้วจึงต้องบูชาเทวดา เจ้าป่าเจ้าเขา นางไม้และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายที่อยู่ ณ ป่าแห่งนี้ด้วยการจัดทำขันธ์ 5 ประกอบด้ายดอกไม้ขาว 5 คู่ เทียน 5 คู่ วางใส่ถาดอย่างเหมาะสมให้เทวดานางไม้ไดรับรู้ว่าตัดไม้ไปทำกลองเส็งขออย่าให้มีอุปสรรคใดๆเมื่อทำเช่นนี้เชื่อกันว่ากลองจะตีเสียงดัง ทำง่าย ไม่มีอุปสรรค ตลอดทั้งสร้างความสมัครสมานสามัคคีของคนทุกคนที่ได้ยินเสียงกลองและถ้ามีการจัดแข่งขันก็จะได้รับชัยชนะดังที่เป็นภาษาชาวบ้านว่า “โอ้น้องนางไม้เอ๋ยผู้ข้าจะขอไม้งามๆไปเฮ็ดกลองเส็งแล้วผู้ข้าสิพาไปประชันขันแข่งขออย่าให้ตื่น ได้ท่วงมั่นๆ เหนียวๆ สิบบ้านซาห้าบ้านลือ พุ่นเด้อ สาธุ”
ลักษณะของกลองเส็ง
กลองเส็งเป็นกลองสองหน้า ตัวกลองทำด้วยไม้ประดู่หุ้มด้วยหนัง ดึงให้ตึงด้วยเชือกหนังแต่ในปัจจุบันใช้เชือกไนล่อนแทน กลองเส็งมีขนาดต่างกันความยาวประมาณ 85 เซนติเมตร ความกว้างของหน้ากลองประมาณ 50 เซนติเมตร ส่วนความกว้างด้นล่างประมาณ 20 เซนติเมตร กลองเส็งที่ชาวบ้านนิยมทำกันจะมีขนาดหน้ากลอง 3 ขนาดคือขนาด 18 นิ้ว ขนาด 20 นิ้วและขนาด 22 นิ้วขึ้นอยู่กับการใช้งานชุดหนึ่งจะมีกลอง 2 ลูกตีด้วยแส้ที่ทำจากไม้เค็งยาวประมาณ 85 เซนติเมตรเสียงดังมากการปรับเสียงจะปรับให้ดังกังวานมากที่สุดส่วนประกอบของกลองเส็ง
ในการทำกลองเส็งช่างทำกลองเส็งจะต้องเป็นบุคคลที่มีความรู้ในกระบวนการต่างๆเป็นอย่างดีได้แก่ รูปแบบของกลอง เทคนิคในการทำกลองตลอดจนความเชื่อเรื่องโชคลางต่างๆที่มีส่วนสัมพันธ์กับกลองเส็งดังนั้นจึงต้องอาศัยข้อมูลต่างๆที่มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อเตรียมที่จะทำกลองให้สมบูรณ์
1.ตัวกลอง
ภาพตัวกลอง ที่เจาะเสร็จเรียบร้อยแล้ว พร้อมที่จะขึ้นหนังหน้ากลอง |
มีรูปร่างไม่เหมือนกลองชนิดอื่นคือ ปากกว้างก้นแคบทำจากไม้ประดู่หรือไม้พยุง การเลือกไม้ให้เลือกต้นที่มีขนาดพอเหมาะคือ มีขนาดวัดโดยรอบ 1 คนโอบหรือประมาณ 100-150 เซนติเมตรต้นไม้จะต้องไม่เป็นโพรงหรือมีแมลงเจาะจนเป็นรู จากนั้นชาวบ้านก็จะใช้เลื่อยใหญ่ตัดต้นไม้และเลือกตัดไม้เป็นท่อนยาวประมาณ 90 เซนติเมตร
2.หนังกลอง เป็นวัสดุที่สำคัญใช้ทำหน้ากลอง ใช้หนังควายอาจเป็นหนังควายสีดำหรือหนังควายสีเผือกก็ได้ ลักษณะที่ดีคือมีขนยาวรูขุมขนมีระยะห่างกันพอสมควร ใช้หนังควายตัวเมียที่เคยตกลูกมาแล้ว 3-4 ตัว หากเป็นตัวผู้ควรมีอายุระหว่าง 3-5 ปี สังเกตจากความยาวของใบหู 2 ข้างถ้ายาวเท่ากันก็ใช้หนังทำหน้ากลอง
3.หนังร้อย หนังชักหรือหนังริวใช้หนังควายส่วนใดก็ได้ต้องใช้มีดปลายแหลมกรีดออกเป็นเส้นๆกว้างประมาณ 2-3 เซนติเมตร ยาวไม่กำหนดการต่อหนังต้องต่อกันตอนที่หนังยังไม่แห้งบิดพันกันแล้วนำไปตากแดด 3-5 วัน ใช้สำหรับร้อยหูกลองเพื่อโยงหนังหน้ากลองแล้วดึงมาร้อยกับเหล็กส่วนล่างให้ตึงแต่ปัจจุบันเนื่องจากหนังหายากจึงใช้เชืกไนล่อนเบอร์ 12
1.วิธีทำตัวกลอง
2.วิธีขึ้นหนังหน้ากลอง
เมื่อได้หนังที่ผ่านการตำจนนิ่มแล้วนำหนังหน้ากลองวางคว่ำที่ปากกลองใช้ไม้ขาไซสอดเข้าที่รูหูบักโก รูหูบักโก คือรูที่เจาะบนแผ่นหนังซึ่งเป็นรูที่เจาะรอบๆแผ่นหนังกลองใช้ไม้ขาไซสอดที่รูหูบักโกจนครบทุกรู ใช้เชือกซึ่งเมื่อก่อนจะใช้หนังควายตากแดดให้แห้งบิดเป็นเกลียวแต่ปัจจุบันใช้เชือกไนล่อนร้อยสอดไปตามไม้ขาไซเพื่อคล้องที่หูกลองไปยังเหล็กหน้าน้อยขึ้นลงในลักษณะฟันปลาแล้วดึงให้ตึง จากนั้นถอดไม้ขาไซออกเพื่อรอขึงด้วยไม้กา
วิธีการขึงหน้ากลองด้วยไม้กา
ไม้ขี้พร้า หรือลิ่ม |
การทดสอบกลอง
ขั้นตอนการขึ้นหลัง |
เครื่องมือที่ใช้ในการขึ้นหนังหน้ากลอง
1.ใช้ไม้ขาไซ เป็นวัสดุที่ทำจากไม้ไผ่ผ่าเป็นซี่ๆ มีความยาวเท่ากับขนาดกลองกว้าง 1-1.5 เซนติเมตรเหลาปลายด้นหนึ่งให้แหลม ใช้สำหรับแผ่นหนังหน้ากลองในการขึ้นหนัง หน้ากลองก่อนที่ใช้หนังร้อยดึงหนังหน้ากลอง
ขัดกระดาษทราย |
3.ไม้เสี่ยม ทำจากไม้ประดู่หรือไม้เนื้อแข็งชนิดอื่นก็ได้ยาวประมาณ 50 เซนติเมตร มีลักษณะคล้ายค้อน ปลายด้นหนึ่งเรียวใช้สำหรับงัดหนังร้อยเพื่อดึงหน้ากลอง ช่างกลองจะนิยมทำเป็นคู่ๆ
ทดสอบเสียงกลอง |
5.ไม้กางัด ทำจากต้นไม้เนื้อแข็งยาวประมาณ 6-8 เมตร ด้านโคนเจาะรูทะลุ 4 รู รูปสี่เหลี่ยมกว้างประมาณ 6 เซนติเมตร ยาง 8 เซนติเมตร และใช้ไม้ไม้เนื้อแข็งยาว 8 เมตรสอดเข้าเป็นเครื่องหมายบวก ปลายอีกด้นหนึ่งเป็นรูปตัวยู(U)สำหรับงัดและบิดให้ตึง
ใบสบู่ดำ |
กระดาษทราย |
ค้อนที่ใช้ในกระบวนการทำกลอง ปรับแต่งหน้ากลอง |
เชือกไนล่อน และกระดาษเขียนแบบหน้ากลอง |
เหล็กหน้าน้อย ใช้สำหรับรองหน้ากลองด้านเล็ก |
อุปกรณ์ในการตีกลอง
ไม้ตีกลอง |
เนื่องจากกลองเส็งเป็นกลองที่จัดทำขึ้นมาเพื่อตีประโคมให้เกิดเสียงดังเป็นสำคัญ ต่อมามีผู้คิดให้นำมาประชันความเด่นว่า กลองคู่ใดมีเสียงดัง การเส็งกลองนิยมตีกันเป็นคู่ๆ
การเส็งกลองมี 2 ลักษณะคือ การตีตั้งและการตีนอนกลองที่จะนำมาตี 1 ชุดประกอบด้วยกลอง 2 ใบ ผู้ตีกลอง 1 คนใช้ไม้ตี 2 อัน การตีชุดหนึ่งๆใช้ผู้ตี 5 คน
การเส็งกลอง คือ การตีกลองแข่งขัน วัดด้วยความแรงและความดังของเสียง ภูมิปัญญาชาวบ้านดั้งเดิมใช้ภาชนะประเภทกระถางดินปากบานหรือกะละมังเผาใส่น้ำให้เต็มตั้งไว้ด้านหน้ากลองที่กำลังตีอยู่หากน้ำในภาชนะของฝ่ายใดกระเพื่อมออกมากกว่าถือว่าชนะ
การเก็บรักษากลองเส็ง
ในสังคมชนบทของชาวชัยภูมิสมัยก่อน ชาวบ้านให้ความร่วมมือและพร้อมใจกันทำกลองเส็ง เพื่อเป็นสมบัติส่วนรวมของหมู่บ้าน ทุกบ้านจะมีกลองเส็งอย่างน้อยบ้านละ 1 คู่ ซึ่งชาวบ้านจะนำไปเก็บรักษาไว้ที่วัด กลองเส็งจึงเป็นสิ่งมีค่าและเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมของหมู่บ้าน
โอกาสที่บรรเลง
หนังควาย |
การเทียบเสียง
ไม่มีการเทียบระดับเสียง แต่พยายามปรับให้มีเสียงดังกังวานมากที่สุดเท่าที่จะดังได้ ไม่มีระดับเสียงแน่นอนแล้วแต่ผู้ทำ
กลองเส็งกับการปรับเปลี่ยนทางสังคม
การสืบทอดในปัจจุบันนี้เกี่ยวกับเรื่องกลองเส็ง หากดูทั่วๆไปนั้นเป็นเรื่องที่ยากพอสมควรเนื่องจากปัจจัยต่างๆนั้นไม่ได้อำนวยเหมือนสมัยก่อนอันได้แก่ กระบวนการผลิตกลองก็น้อยลงเรื่อยๆ ส่วนมากจะปรากฏแต่กลองที่เคยทำและใช้มาหลายปีแล้วเกี่ยวกับช่างกลองก็ชรามากและเสียชีวิตไปแล้ว คนรุ่นใหม่ไม่ค่อยสนใจที่จะสืบทอด ทำให้กลองเส็งในจังหวัดชัยภูมิใกล้จะสูญหาย
การเดาะกลอง |
การตีเพื่อแข่งขัน |
การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม
ด้านการแต่งกาย การเส็งกลอง มีการแต่งกายโดยใส่เสื้อม่อฮ้อม หรือเสื้อผ้าไหม นุ่งผ้าโสร่งและผ้าขาวม้าคาดเอวซึ่งเป็นชุดพื้นเมืองของชาวอีสาน
ด้านประเพณี ให้ลูกหลานหรือคนรุ่นหลังมีโอกาสได้ศึกษาเพราะคนเฒ่าคนแก่เริ่มไม่มีแรงเส็งกลอง จึงต้องให้ลูกหลานที่มีกำลังแรงดีมาเส็งกลองแทนถือเป็นการสืบทอดประเพณีการเส็งกลองบางท้องถิ่นยังมีการใช้กลองเป็นสัญญาณต่างๆ เช่น ตีตอนเรียกชาวบ้านประชุม ตีย่ำค่ำเรียกว่า ”กลองแลง” ตีตอนกลางคืนรียกว่า ”กลองดึก” เป็นต้น
วันอังคารที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2555
วันอาทิตย์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2555
สรงดูกรวมญาติ วัดชัยชนะวิหาร จ.ชัยภูมิ เทศกาลสงกรานต์ 2555
ชาวบ้านละหาน ตำบลละหาน อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ ร่วมใจกันนำอัฐิของญาติผู้ล่วงลับไปแล้วมาทำพิธีสรงน้ำ้รวมญาติ ณ วัดชัยชนะวิหาร บ้านละหาน เป็นประจำทุกปี ในช่วงเทศกาลปีใหม่ไทย ช่วงสงกรานต์ ทุกวันที่ 15 เมษายน ของทุกปี เพื่อรำลึกถึงพ่อแม่บุพการี ญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว สรงน้ำสงกรานต์ตามประเพณีบ้านละหาน
พิธีจะเริ่มก่อนเวลาเพล ชาวบ้านจะนำโกศอัฐิพร้อมสำรับกับข้าวและน้ำอบ น้ำหอม ดอกไม้ มาที่วัด
จะเริ่มด้วยการกราบพระรัตนตรัย อาราธนาศิล5 หลังจากที่พระสงฆ์ให้ศิลเสร็จ ก็จะอาราธนาธรรม พระสงฆ์จะสวดบท กุสะลา ธัมมา1จบ พระสงฆ์จะลุกจากอาสน์สงฆ์เพื่อไปสรงดูกหรืออัฐิและกรวดน้ำให้ผู้ล่วงลับในถาดสำรับกับข้าวที่ชาวบ้านเตรียมมา หลังจากที่พระสงฆ์สรงน้ำและกรวดน้ำเสร็จชาวบ้านก็จะสรงน้ำอัฐิตามจนครบทุกโกศแล้วจึงเก็บสำรับกับข้าวออกเป็นเสร็จพิธี
ประเพณีนี้ชาวบ้านละหานจะเรียกว่า สรงดูกรวมญาติ (สรง คือ สรงน้ำ ดูก คือ กระดูก อัฐิ) เป็นพระเพณีอันดีงามของบ้านละหาน ที่อนุรักษ์สืบทอดกันมายาวนาน
พิธีจะเริ่มก่อนเวลาเพล ชาวบ้านจะนำโกศอัฐิพร้อมสำรับกับข้าวและน้ำอบ น้ำหอม ดอกไม้ มาที่วัด
จะเริ่มด้วยการกราบพระรัตนตรัย อาราธนาศิล5 หลังจากที่พระสงฆ์ให้ศิลเสร็จ ก็จะอาราธนาธรรม พระสงฆ์จะสวดบท กุสะลา ธัมมา1จบ พระสงฆ์จะลุกจากอาสน์สงฆ์เพื่อไปสรงดูกหรืออัฐิและกรวดน้ำให้ผู้ล่วงลับในถาดสำรับกับข้าวที่ชาวบ้านเตรียมมา หลังจากที่พระสงฆ์สรงน้ำและกรวดน้ำเสร็จชาวบ้านก็จะสรงน้ำอัฐิตามจนครบทุกโกศแล้วจึงเก็บสำรับกับข้าวออกเป็นเสร็จพิธี
ประเพณีนี้ชาวบ้านละหานจะเรียกว่า สรงดูกรวมญาติ (สรง คือ สรงน้ำ ดูก คือ กระดูก อัฐิ) เป็นพระเพณีอันดีงามของบ้านละหาน ที่อนุรักษ์สืบทอดกันมายาวนาน
จุดเทียนธูป ในถาดสำรับกับข่าวที่เตรียมมาแก่ญาติที่ล่วงลับไปแล้ว |
พระสงฆ์จะสรงน้ำอัฐิในโกศ ในรอบแรก |
พระสงค์จะกรวดน้ำให้พรในถาดสำรับกับข้าว ในรอบสอง |
ชาวบ้านจะสรงน้ำต่อจากพระสงฆ์ |
วันพฤหัสบดีที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2555
แห่พระศรีอาริย์ วัดชัยชนะวิหาร จังหวัดชัยภูมิ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)